ปัญหาใหญ่ทางการศึกษาพื้นฐานไทย (ไปไหนไม่รอด) @Tavisak visisdankura (ทวีศักดิ์ วิศิษฎางกูร)
ปัญหาใหญ่ทางการศึกษาพื้นฐานไทย (ไปไหนไม่รอด) คือ
๑.กระทรวง
-ผู้นำ (ส่วนใหญ่วิสัยทัศน์ไม่ถึง) เปลี่ยนบ่อย เห็นปัญหาไม่ชัด มองไม่เห็นอนาคต
-หลักสูตรส่วนกลางกำหนด (พิมพ์เขียวเดียวกันทั้งประเทศ) โรงเรียนปฏิบัติจึงตึงตัวรุงรังล้าหลัง ไม่สอดคล้องพื้นที่ ไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เน้นคะแนนเพื่อเรียนต่อ ไม่คำนึงทักษะและอนาคตเด็กและความต้องบุคลากรของภาคแรงงาน การพัฒนาชาติ
-ช่องว่างด้านบุคลากร ระหว่างส่วนกลางกับภูมิภาค (เป็นระบบคู่ขนาน) ไม่ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ไม่เข้าใจปัญหาแท้จริง ขาดการหมุนเวียนบุคลากร
-ความตระหนักสนใจต่อการพัฒนาโรงเรียนให้เข้มแข็งไม่ชัดเจน เกิดความเหลื่อมล้ำในวงกว้าง
-สายพานการบริหารหลายขั้นตอน ล้าช้าต่อการแก้ปัญหา พัฒนางาน
-องค์กรทุกระดับเสมือไร้เอกภาพ ต่างคนต่างอยู่พูดคุยกันยากถึงขั้นขัดแย้งทางความคิด (ลูกไก่รวมกันไม่ได้เพราะแม่คอยตีกัน)
๒.การผลิตครูและพัฒนาครู เน้นเชิงปริมาณ/ธุรกิจ...คนเก่งคิดเก่งเรียนไม่สนใจเรียนครู (เกิดภาระบัณฑิตตกงาน) คุณภาพการสอนต่ำ
๓.อ่อนแอด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ทิศทางพัฒนาการศึกษา หลักประกันและแรงจูงใจ
๔.สถานศึกษา ขาด
-การมีส่วนร่วมด้านนโยบายและการแก้ปัญหาเพื่อรอการพัฒนา
-ความชัดเจนในการกระจายอำนาจ สร้างความอึดอัด กดดันต่อสถานศึกษา
-ความใส่ใจการบริหารงาน การแกัปัญหาล้าช้า เหลื่อมล้ำ เช่น ครูไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ชั้นเรียนขาดครูนาน ครูคุณภาพ ขวัญกำลังใจ ระบบความก้าวหน้าในสายงาน (ผู้บริหาร รร.ควรพิจารณาด้านปริมาณ &คุณภาพการศึกษาเพื่อความก้าวหน้า ในสายงาน ครูควรพิจารณาที่ผลการเรียนหรือพัฒนาการของเด็กและการปกครอง เป็นต้น)
๕.การทุจริตที่อยู่ในระดับต้นๆ
ข.เสนอการแก้ปัญหาเร่งด่วน
๑.เจ้ากระทรวง ผู้บริหารระดับสูงและทุกระดับ ต้องทำสัญญาประชาคมให้สัจจปฏิญาณต่อประชาคมชาติว่า จะสามัคคีปรองดองเป็นเอกภาพ (คุยกันรู้เรื่องมองปัญหากศ.เป็นเรือลำเดียวกัน ต้องกำหนดทิศทางและพายไปสู่เป้าหมายเดียวกัน)
๒.กำหนดทิศทางให้ชัดเจน ให้ความสำคัญต่อการเห็นและแก้ปัญหาสถานศึกษาให้มีความพร้อมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ทันที
๓.ทบทวนกระบวนการผลิตครูใหม่ “ครูมืออาชีพ: Professional Teacher” ภายใน ๑๐ปี ให้ได้ ๓-๔ แสนคน (เท่าๆตำแหน่งเกษียณ) โดย
-ผลิตตามจำนวนและสาขาที่พื้นที่สถานศึกษาต้องการ
-ใช้หลักสูตรต่อยอดป.ตรี (เท่านั้น) เรียน ๒ ปี ได้ป.โททางการสอนและวิจัย
-คุณสมบัติจบป.ตรีสาขาที่ต้องการ (คะแนน ๒.๘-๓.๐๐หรือกว่านั้น/ภาษาอังกฤษดี/ ใช้ได้ดี)
-เป็นคนในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ/จบวุฒิป.โท (สอนได้อย่างน้อ๒วิชา)
-บรรจุแต่งตั้งเป็นครูในพื้นที่ (เพื่อเป็นบุคลากรร่วมพัฒนาจังหวัดในด้านอื่นด้วย)
๔.มีแผนและระบบพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง
ปกติหลักสูตร ป.กศ.เดิมเรียน ๒ ปี วิชาครูก็มีครบทั้งประวัติการศึกษา พรบ.การศึกษา จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ เทคโนโลยีและสื่อกศ.การฝึกสอน การวัดผลประเมินผล คิดว่าหลักสูตรต่อยอดป.ตรี ก็น่าประมาณนี้ แต่หากให้เพิ่มเป็น ๒ ปีครึ่งก็ไม่น่ามีปัญหา การฝึกสอนจำเป็นมาก เป็นการปฏิบัติจริง ครูพี่เลี้ยงและผู้บริหารช่วยได้มาก ตอนฝึกสอนจะต้องคิดเรื่องที่จะทำวิจัย (เค้าโครงจากปัญหาที่พบหรือที่โรงเรียนต้องการด้วยยิ่งดี) สิ่งที่ยังขาดอยู่เรื่องหนึ่ง คือควรให้ทุนการศึกษาศึกษา (เหมือนเรียนแพทย์) จะได้จูงใจผู้เรียน และต้องสอนชดใช้ทุนด้วย รายงานด้านศึกศาสตร์ ระบุชัดอยู่แล้วเรื่องความอ่อนแอเรื่องคุณภาพการศึกษาด้านหนึ่งมาจากความสมดุลของครูทั้งด้านจำนวน สาขาที่ต้องการ และศักยภาพครู นโยบายเรื่องอัตราเกษียณของครูต้องคืนทันทีภายในเดือนมีนาคมของปีเพื่อจะได้เตรียมครูใหม่เข้าสู่ระบบตอนเปิดเทอม (ใช้ระบบ ตำรวจ ทหาร หมอ บรรจุทันที) ต้องช่วยกันขับเคลื่อนเสนอกันทุกเวทีสาธารณะ ไม่เห็นด้วยกับระบบเรียน ๕ ปี และไม่เห็นด้วยกับการบรรจุครูโดยไม่ผ่านการเรียนรู้เรื่องความเป็นครู (พื้นฐาน) เพราะเด็กจบม. ๖ วุฒิภาวะการตัดสินใจเลือกเรียนยังด้อย ส่วนใหญ่เรียนตามใจพ่อแม่ ตามเพื่อน หรือตามกระแสและการแนะแนวที่ไม่ชัดเจน การสอนการปกครองเด็กเล็ก อนุบาล ปฐมวัย มัธยม มีความละเอียดอ่อนด้านพัฒนาการ ครูต้องมีศาสตร์และศิลป์ความเป็นครูเฉพาะเป็นพิเศษ สังคมต่อไปนี้ ครูจะต้องมีจิตวิญญาณ ความเป็น พ่อแม่ อีกด้วย เพราะสถาบันครอบครัวอ่อนแอมากๆ