การเรียนการสอนเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ @Jakapant
ขอแลกเปลี่ยนเรียนประเด็นการเรียนการสอนเด็กที่ความต้องการจำเป็นพิเศษและขอสะท้อนปัญหาที่เกิดในปัจจุบันให้ท่านรับทราบ
ขอแลกเปลี่ยนเรียนประเด็นการเรียนการสอนเด็กที่ความต้องการจำเป็นพิเศษและขอสะท้อนปัญหาที่เกิดในปัจจุบันให้ท่านรับทราบ
ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นสอบเข้าม. 1 หรือการสอบเข้าม. 4 ตลอดการสอบเข้ามหาวิทยาลัยครับ ไม่เห็นด้วยกับการสอบคัดเลือก แต่ควรรับทุกคนที่มาสมัครเข้าเรียนตามโควต้าเมื่อเต็มแล้วก็หยุดรับ
ควรปรับหลักสูตรใหม่หมด ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นค้นหาความถนัด ความสามารถเฉพาะบุคคลได้และจัดกิจกรรมตอบสนองเด็กได้อย่างต่อเนื่องถึงจะพัฒนาศักยภาพเด็กได้
ครูต้องสอนตามความถนัด ความแตกต่างระหว่างบุคคลและศักยภาพของผู้เรียน
ต้องรีบค้นพบความถนัดเด็กเป็นรายบุคคล ที่โดดเด่นตั้งแต่ปฐมวัย ครูต้องฝึกเรื่องนี้ การค้นหาความถนัด สามารถเชี่ยวชาญให้เด็กอย่างเร็วให้ได้ทันพัฒนาการธรรมชาติจิตวิทยาการเรียนรู้ของเด็ก ตั้งแต่อบ.๓ ขวบ
ครูที่ตั้งใจสอนไม่มีวิทยฐานะ ส่วนครูที่ตั้งใจทำผลงานไม่ค่อยทุ่มเทกับการสอนกลับมีวิทยฐานะ ไม่เป็นธรรม
การบริหารและการจัดการศึกษา การทำโครงสร้างที่ดีและจัดคนดีมีความรู้เข้าบริหาร มีความจำเป็นอย่างยิ่ง บุคลากรไม่ควรเกิน ๒๕ ถึง๓๐ คน เดิม สนง.ศธอ. มีคนไม่เกิน๑๐ คนทำงานทุกเรื่อง มากกว่าเขตพื้นที่เสียอีก
การศึกษา สถานศึกษาต้องเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณะและมีธรรมาภิบาลพร้อมๆไปกับการปรับเปลี่ยนหลักการสอน วิธีปฏิบัติใหม่ๆที่รองรับ 4.0 ด้วยกันในเวลาอันใกล้นี้ การปรับความคล่องตัวและระดมสรรพกำลังเพื่อเปลี่ยนบุคลิกเด็กไทยที่แข็งแรง มีวินัย รักภูมิใจชาติ สามารถเชี่ยวชาญในทางถนัด รับผิดชอบครอบครัว สังคม ต้องเร่งและในรูปแบบสถานศึกษาในกำกับรัฐ
เด็กที่มาเรียนวิชาชีพส่วนใหญ่ไม่ถนัดวิชาการ แต่เมื่อลงมือทำ ก็สามารถทำได้ แล้วเด็กก็มีความภาคภูมิใจ แต่พอเข้าทดสอบ V-NET ออกมาตกกันหมด ความภาคภูมิใจ หายหมดเลย กลายเป็นเด็กโง่ในสายตาครู
ทุกวันนี้ ครูของรัฐที่รับนั้น ได้จากโรงเรียนเอกชนเป็นผู้ผลิตให้ ผ่านการหล่อหลอมอย่างเข้มข้น
การศึกษาประเทศไหนก็ตามแต่ ถ้าจะให้บรรลุตามจุดหมายของประเทศนั้นประชาชนต้องอยู่ดีกินดี จะอยู่ดีกินดีได้ ประชากรต้องเรียนรู้ที่สามารถช่วยตัวเองได้ ตามวัย
เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารเชียงใหม่ ฝากเสนอความคิดเห็นการปฏิรูปการศึกษาควรให้สิทธิและโอกาสแก่เด็กทุกคนตาม พ.ร.บ.ในการเลือกและเรียนในโรงเรียนหรือวัดหรือที่เหมาะสม
ควรให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคล ไม่ควรมีหน่วยเหนือมาควบคุมการจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ถึงศธ.คิดได้ไม่ใช่ยาก ที่ลำบากคือทำตามเหตุผล พอจะทำบางทีต้องวกวน ทำกับคนส่วนมากยุ่งยากใจ บางเรื่องขัดไปหมดข้อกฎหมาย ถึงคิดได้ก็ต้องทำตามเงื่อนไข มันยุ่งยากมากยิ่งกว่าสิ่งใด ...
10 ประการที่ญี่ปุ่นก้าวหน้าระดับโลก ...
การปลูกฝังลักษณะนิสัยต้องเริ่มตั้งแต่แรกเริ่มที่เข้าเรียน เหมือนที่เคยนำเสนอแนวที่มีบางแห่งเคยทำมาสำเร็จ คือโครงการวันนี้คุณทำความดีแล้วหรือยัง แต่จะอยู่ที่ว่าทำแล้วมีความยั่งยืนหรือไม่เท่านั้นเอง
พลิกคุณภาพ ต้องพลิกกระบวนการเรียนรู้และบูรณาการการเรียนรู้ ที่ต้องยึดถือว่าผู้เรียนทุกคนพัฒนาได้ ผู้เรียนสำคัญและพัฒนาตามศักยภาพ เพื่อความเจริญงอกงานตามวัย ครูต้องทุ่มเทอย่างจริงจังบนการสนับสนุนของผู้บริหารทุกระดับอย่างจริงใจ
เสนอปรับหลักสูตรครูอีกครั้ง พัฒนาการเรียนรู้ ธรรมชาติการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมครอบครัวชุมชน สำหรับผู้เรียนในแต่ละกลุ่ม เช่น ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ครูในแต่ละระดับผู้เรียนควรต้องมีคุณลักษณะต่างกัน ตามลักษณะผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
ความจริงแล้วประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ครูอยู่ด้วยกันไม่ได้ การแยกกระทรวงอีกครั้งมิใช่ทางออก การกระจายอำนาจให้โรงเรียนคือจุดหมายปลายทางของการศึกษา
ในฐานะชมรม ผอ.สพท.แห่งประเทศไทยผมไม่ปฏิเสธเรื่องความสุจริตเที่ยงธรรม และเป็นธรรมาภิบาลของ กศจ.เกือบทุก กศจ. ที่สามารถสร้างความสุขให้กับครูเรื่องโยกย้ายที่ไร้การทุจริต(แต่อาจมีแอบกันอยู่บ้าง) สิ่งที่ผมสะท้อนไปนั้น อย่าเพิ่งตื่นตระหนกตกใจ เพราะชมรมมิได้เสนอให้ยกเลิก กศจ. หรือ ศธจ.
ระวัง ร.ร.นิติบุคคล จะเป็นนิติบุคคลชั้นที่หนึ่ง ชั้นที่ สอง สาม จะมีการเรียกร้องไม่สิ้นสุด อยากให้ทำเหมือน ร.ร.มหิดลฯ ทั้งหมด ผอ.ร.ร.ไม่ต้องกระเสือกกระสน หางบพัฒนา ร.ร.เพราะปัจจุบันให้เงินเขาไปร้อยบาท จะเอาคุณภาพร้อย คนไม่ทำจะไม่รู้ เพราะสนามรบที่แท้จริง คือ ร.ร. จะแพ้ชนะกัน อยู่ที่ ร.ร.